วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติบริษัท 60 ปีแห่งความไว้วางใจ เคียงข้างคนไทยทุกจังหวะชีวิต

อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. 60 ปีแห่งความไว้วางใจ

เคียงข้างคนไทยทุกจังหวะชีวิต.อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. คือหนึ่งในบริษัทประกันชีวิตชั้นนำของไทยที่เกิดจากความร่วมมือของ 3 บริษัทพันธมิตรที่มีชื่อเสียงอย่าง กลุ่มธนาคารกรุงศรีอยุธยา กลุ่มอลิอันซ์จากประเทศเยอรมนี และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ส่งผลให้ อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. เป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจประกันชีวิตระดับโลกและมีความรู้ความชำนาญในตลาดผู้บริโภคไทย

• ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2494 และอยู่เคียงข้างคนไทยมายาวนานถึง 60 ปี
• ทุนจดทะเบียนสูงถึง 4,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเมื่อก่อตั้งถึง 400 เท่า
• สินทรัพย์รวมสูงถึง 9.8 หมื่นล้านบาท ณ 30 กันยายน 2553
• ปัจจุบันได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ากว่า 1.6 ล้านกรมธรรม์
• หนึ่งในบริษัทพันธมิตรอย่างกลุ่มอลิอันซ์เป็นบริษัทฯ ระดับโลกที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินจากสถาบันชั้นนำให้อยู่ในระดับคงที่แม้ในยามที่ต้องเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ อาทิ S&P เรทติ้ง AA (ณ 7 ก.ย.53) AM Best เรทติ้ง A+ ( ณ 13 เม.ย.53) และ Moody’s เรทติ้ง Aa3 (ณ 22 พ.ย.53)

ด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. จะเป็นปัจจัยหลักแห่งความมั่นคงคุ้มครองทุกครอบครัวไทย เราจึงใส่ใจกับทุกความต้องการของลูกค้าและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสินค้าและบริการของเราต่อไป เพื่อให้ลูกค้าทุกคนมั่นใจได้ว่า ไม่ว่าจังหวะชีวิตจะเป็นเช่นไร ก็วางใจได้เสมอว่าจะมี อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. เคียงข้างทุกจังหวะชีวิต

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.081-5339770 และ 081-7791353 คุณวิษณุ AACP
E-mail : wisanu.no@aacpagency.com

มาย บำนาญ (บำนาญแบบลดหย่อนได้) AACP

คุณทราบหรือไม่ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ พวกเราทั่วโลกจะมีชีวิตยืนยาวขึ้น และแนวโน้มของประชากรจะมุ่งไปสู่สังคมผู้สูงอายุ
• อัตราการเกิดลดลง ทำให้สัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น แต่สัดส่วนของคนวัยทำงานลดลง
• อายุโดยเฉลี่ยของประชากรมีแนวโน้มสูงขึ้น
• ความต้องการการดูแลด้านการรักษาพยาบาล และบำนาญเกิดขึ้นอย่างชัดเจนมากขึ้น
• คนเอเชียจะมีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากต่ำกว่า 70ปี ในปี 2548 เป็น ประมาณ 80ปี ในปี 2588 **
• ในเอเชีย สัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น จาก 10% ในปัจจุบันเป็น 25% ในปี 2588 **

** ที่มา United Nations Population Division

วันนี้...คุณเตรียมแผนการออมเพื่อการเกษียณอย่างมีความสุขไว้แล้วหรือยัง?

มาย บำนาญ (บำนาญแบบลดหย่อนได้) แผนการออมที่พร้อมมอบรายได้แน่นอนไปจนถึงอายุ 90 ปี ให้คุณใช้ชีวิตวัยเกษียณ อย่างมีความสุข มั่นใจ ไม่ว่าคุณจะอายุยืนแค่ไหน
• รับเงินบำนาญตั้งแต่ อายุ 60 ปี ถึงอายุ 90 ปี
• รับเงินบำนาญ 12%* ทุกปี *ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
• รับประกันง่าย ไม่มีคำถามสุขภาพ และไม่ต้องตรวจสุขภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.081-5339770 และ 081-7791353 คุณวิษณุ AACP

แผนการออมที่คุณเลือกระยะเวลาการออมและระยะเวลาคุ้มครองได้มากถึง 216

แผนการออมที่คุณเลือกระยะเวลาการออมและระยะเวลาคุ้มครองได้มากถึง 216 ทางเลือก

• เลือกระยะเวลาคุ้มครองได้ตั้งแต่ 10 – 25 ปี
• เลือกระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัยได้ตั้งแต่ 5 – 25 ปี
• พร้อมโอกาสรับเงินปันผลรายปีตั้งสิ้นปีกรมธรรม์ที่ 2 และเงินปันผลเมื่อครบกำหนดสัญญา

เลือกแผนการออมที่เหมาะกับตัวคุณด้วย เอเอซีพี มาย แพลน (มีเงินปันผล)


1. ตอบสนองทุกจังหวะชีวิตด้วย 216 ทางเลือก
• สามารถเลือกระยะเวลาคุ้มครองได้ตั้งแต่ 10 – 25 ปี
• สามารถเลือกระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัยได้ตั้งแต่ 5 – 25 ปี

2. มอบความคุ้มครองชีวิต
• รับความคุ้มครองชีวิต 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย หรือเงินเวนคืนกรมธรรม์ หรือเบี้ยประกันภัยของสัญญาหลักที่ได้ชำระมาทั้งหมด ทั้งนี้ไม่รวมเบี้ยประกันภัยเพิ่มพิเศษ(ถ้ามี) แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

3. รับผลประโยชน์เมื่อครบกำหนดสัญญา
• รับเงินครบกำหนดสัญญารวม 180% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย (สำหรับระยะเวลาคุ้มครอง 10 – 14 ปี)
• รับเงินครบกำหนดสัญญารวม 140% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย (สำหรับระยะเวลาคุ้มครอง 15 – 25 ปี)
• รับเงินปันผลรายปีสะสม1 (กรณีเลือกฝากไว้กับบริษัทพร้อมรับดอกเบี้ยเพิ่มเติม)
• รับเงินปันผลเมื่อครบกำหนดสัญญา

4. รับผลประโยชน์เพิ่มเติม
• เบี้ยประกันภัยสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ (ภายใต้กฎเกณฑ์ของกรมสรรพากร)
• เพิ่มสภาพคล่อง โดยคุณสามารถกู้เงินส่วนหนึ่งมาใช้ยามจำเป็นได้ (ภายใต้กฎเกณฑ์ของบริษัทฯ)
• สามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมอื่นๆ ได้ตามต้องการ อาทิเช่น สัญญาเพิ่มเติมออมทรัพย์พิเศษ (มีเงินปันผล) สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลรายวัน เป็นต้น

1. เงินปันผลรายปีสะสม: กรณีเลือกฝากเงินผลรายปีไว้กับบริษัทจนครบกำหนดสัญญา โดยบริษัทจะแจ้งอัตราดอกเบี้ยให้ทราบในแต่ละปี

2. เงินปันผลเมื่อครบกำหนดสัญญา: บริษัทจะพิจารณาจ่ายเงินปันผลเมื่อครบกำหนดสัญญาให้ผู้เอาประกันภัย โดยเงินปันผลนี้จะขึ้นอยู่กับผลตอบแทนจากการลงทุนที่บริษัทจัดสรรให้ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจะแตกต่างกันตามแบบประกันภัย ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไข ข้อกำหนด และวิธีการคำนวณเงินปันผลที่บริษัทพิจารณา ณ วันครบกำหนดสัญญา

3. เงินปันผลรายปี: บริษัทจะพิจารณาจ่ายเงินปันผลรายปีให้ผู้เอาประกันภัย ตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 2 เป็นต้นไป โดยเงินปันผลนี้จะขึ้นอยู่กับผลตอบแทนจากการลงทุนที่บริษัทจัดสรรให้ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจะแตกต่างกันตามแบบประกันภัย ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไข ข้อกำหนด และวิธีการคำนวณเงินปันผลที่บริษัทพิจารณาในแต่ละปี
สอบถามเพิ่มเติม โทร.081-5339770 และ 081-7791353 คุณวิษณุ AACP

แผนสร้างความสุขสบายให้ชีวิตวัยเกษียณ กับ AACP

แผนสร้างความสุขสบายให้ชีวิตวัยเกษียณ
1.แบบประกันเพื่อการวางแผนสร้างความสุขในวัยเกษียณที่ชำระเบี้ยและให้ความคุ้มครองชีวิตจนถึงครบอายุ 55 ปี ,60 ปี หรือ 65 ปี

2.เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อ รับจำนวนเงินเอาประกันภัยเพิ่มพิเศษในอัตราปีละ 1% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่ต้นปีกรมธรรม์ที่ 2 จนถึงต้นปีกรมธรรม์ที่ 4 หลังจากนั้นบริษัทฯ จะพิจารณากำหนดและแจ้งให้ทราบในแต่ละปี

3.เมื่อครบกำหนดสัญญาเลือกรับผลประโยชน์ได้ตามความต้องการถึง 3 รูปแบบ คือ
• รับเงินก้อนในรูปแบบเงินบำเหน็จเมื่อครบกำหนดสัญญา หรือ
• รับเงินรายงวดในรูปแบบเงินบำนาญถึงอายุครบ 75 ปี ,80 ปี หรือ อายุครบ 90 ปี ซึ่งเลือกระยะเวลารับผลประโยชน์ได้ตรงความต้องการถึง 4 แบบ คือ รายปี ราย 6 เดือน ราย 3 เดือน และรายเดือน (จำนวนที่รับต่องวดไม่น้อยกว่า 5,000 บาท) หรือ
• รับเงินก้อนบางส่วนและตามด้วยเงินรายงวดในรูปแบบบำนาญ (จำนวนที่รับต่องวดไม่น้อยกว่า 5,000 บาท)

4.ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันภัยตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุดถึง 100,000 บาทต่อปี ภายใต้กฎเกณฑ์ของกรมสรรพากร

5.รับเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยไม่ต้องหักภาษี

หมายเหตุ
* ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น มิใช่ส่วนหนึ่งส่วนใดของสัญญาประกันภัย ความคุ้มครองที่ท่านซื้อพร้อมข้อกำหนดเงื่อนไขและผลประโยชน์จะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้น

สอบถามเพิ่มเติม โทร.081-5339770 และ 081-7791353 คุณวิษณุ

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เปลี่ยนภาษีเป็นรายได้ เปลี่ยนรายจ่ายเป็นเงินออม


เปลี่ยนภาษีเป็นรายได้ เปลี่ยนรายจ่ายเป็นเงินออม
นิติบุคคลสามารถลดหย่อนภาษีได้อีกทางเลือกหนึ่ง ฉบับนี้ผมข้อนำเนื้อหาบทความข้อหารือจากสรรพกรมาฝากครับสำหรับ บริษัท นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วน ที่ต้องเสียภาษีในปีนี้ต้องรู้
เลขที่หนังสือ : กค 0811/408 ลงวันที่ วันที่ : 21 มกราคม 2543
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการผู้จัดการ
ข้อกฎหมาย ประมวลรัษฎากร : มาตรา 42 (13), มาตรา 65 ตรี (3), (6), (13)
ข้อหารือ : บริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการผู้จัดการ ตามมติที่ประชุมของบริษัทฯ เพื่อเป็นสวัสดิการและการตอบแทนคุณความดีที่บริหารธุรกิจจนประสบความสำเร็จด้วยดีตลอดมา จึงหารือว่า
1. เบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้กรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมนี้ หักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทฯได้หรือไม่มีข้อจำกัดอย่างไร
2. เบี้ยประกันชีวิตนี้จะถือเป็นรายได้พึงประเมินนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกรรมการผู้จัดการหรือไม่ มีข้อจำกัดอย่างไร
3. กรณีที่บริษัทฯ จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งหมดแทนกรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมและเจตนารมณ์ของบริษัทฯ จะต้องดำเนินการอย่างไร
4. เงินสินไหมทดแทนกรณีการสูญเสียชีวิตของกรรมการผู้จัดการ ที่บริษัทฯ ยกให้แก่ครอบครัวหรือทายาท มีภาระภาษีใดมาเกี่ยวข้องบ้าง
5. บริษัทฯ จะบันทึกบัญชีอย่างไร กรณีต่อไปนี้
    (1) บริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการผู้จัดการให้บริษัทประกันฯ
    (2) บริษัทฯ รับเงินค่าสินไหมทดแทนกรณีการสูญเสียชีวิตจากบริษัทประกัน
    (3) บริษัทฯ ยกผลประโยชน์จากเงินสินไหมทดแทนให้แก่ครอบครัวหรือทายาทของกรรมการผู้จัดการ กรณีเสียชีวิต
แนววินิจฉัย :
1. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายให้กรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมของบริษัทฯ
หากเป็นกรณีที่บริษัทฯ ต้องจ่ายให้กับกรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบของบริษัทฯ แล้ว บริษัทฯมีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร และเพื่อความสะดวกในการแสดงหลักฐาน ให้บริษัทประกันภัยหมายเหตุไว้ในใบเสร็จรับเงินให้มีข้อความว่าเบี้ยประกันชีวิตที่รับนี้จ่ายโดยบริษัท
2. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินค่าภาษีอากรที่บริษัทฯ ออกให้ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์เพิ่มที่พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทฯ ได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งพนักงานจะต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
3. เงินค่าภาษีอากรที่บริษัทฯ ออกให้ ถือเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ บริษัทฯ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร
4. ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดหรือเงินได้จากการประกันภัย เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42 (13) แห่งประมวลรัษฎากร
5. การบันทึกบัญชีของบริษัทฯ ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป
อ้างอิงข้อหารือ เลขตู้ : 63/28838

เลขที่หนังสือ: กค 0706/4227 วันที่ : 30 เมษายน 2547 เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 42(13), มาตรา 65 ตรี (3), มาตรา 65 ตรี (13)
ข้อหารือ : บริษัท ม. หารือว่า กรณีที่สำนักงานสรรพากรภาคได้มีหนังสือตอบข้อหารือกรณีเบี้ยประกันชีวิต ที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการตามมติที่ประชุมของบริษัทว่า หากผู้รับประโยชน์คือบริษัท เงินค่าเบี้ยประกันที่ บริษัทจ่ายแทนกรรมการผู้เอาประกันไม่ถือเป็นเงินได้ของกรรมการ แต่หากผู้รับประโยชน์จากกรมธรรม์ เป็นครอบครัวหรือญาติพี่น้องของกรรมการ เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนถือเป็น เงินได้พึงประเมินของกรรมการ ต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ของกรรมการ ประเด็นดังกล่าวตัวแทน

ประกันชีวิตเห็นว่า
1. เบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการบริษัทตามมติที่ประชุมของบริษัทถือว่าเป็นระเบียบ วางไว้ให้จ่ายได้ เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของบริษัทซึ่งถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ และหากผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์คือบริษัท เงินค่าเบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการ ผู้เอาประกันก็ไม่ถือเป็นเงินได้ของกรรมการ
2. ผลประโยชน์ที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายคืนระหว่างอายุกรมธรรม์ทุก 5 ปีหรือทุกปี ถือเป็น เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42(13) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะผลประโยชน์มิใช่สินไหมเสียชีวิตหรือครบกำหนดอายุกรมธรรม์ บริษัท ประกันชีวิตจะจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันเท่านั้น ไม่จ่ายให้แก่บริษัทซึ่งเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันและเป็นผู้รับ ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ ย่อมถือเป็นประโยชน์เพิ่มของกรรมการที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42(13) ที่กล่าวถึงข้างต้นบริษัทฯ หารือว่าความเห็นของตัวแทนประกันชีวิตในกรณีดังกล่าวถูกต้องหรือไม่

แนววินิจฉัย
 1. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการบริษัทตามมติที่ประชุมของบริษัท หากเป็นกรณีที่บริษัทต้องจ่ายให้กรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบของบริษัทแล้ว บริษัทมีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร ถึงแม้ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์คือบริษัท เงินค่าเบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการก็ต้องถือเป็นประโยชน์เพิ่มของกรรมการ
เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร
2. ผลประโยชน์ที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายคืนระหว่างอายุกรมธรรม์ 5 ปี หรือทุกปีให้แก่ ผู้เอาประกันภัยถือเป็นเงินที่ได้จากการประกันภัย ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(13) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้ : 67/32909

สำหรับขั้นตอนและวิธีการดังกล่าวสามารถช่วยคุณให้ประหยัดภาษีได้จริง “เรียกว่าเปลี่ยนภาษีเป็นรายได้ เปลี่ยนรายจ่ายให้เป็นเงินออม” โดยสามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ตามข้อหารือของสรรพกร และตามประมวลกฎหมายรัษฎากร

ขอรายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามโทร. 081-5339770 และ 081-7791353 คุณวิษณุ นึกอนันต์

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อยุธยาทรัพย์เพิ่มพูน 10/3 (มีเงินปันผล)

อุ่นใจในความคุ้มครองชีวิตและรับเงินจ่ายคืนทุกปี ปีละ 2 % ของจำนวนเงินเอาประกันภัย


เพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนแบบไร้ขีดจำกัด เพื่อความมั่นคงยิ่งขึ้นของอนาคต
ผลประโยชน์ แผนประกันภัยที่ให้ทั้งความอุ่นใจในความคุ้มครองชีวิตและผลตอบแทนตลอดอายุกรมธรรม์

รับเงินจ่ายคืนทุกปี ปีละ 2% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 1-9

ชำระเบี้ยประกันภัยสั้น ๆ เพียง 3 ปีพร้อมรับความคุ้มครองสูงถึง 10 ปี

รับเงินครบกำหนดสัญญาในปีที่ 10 สูงถึง 122% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย

โอกาสรับเงินปันผลรายปี* ตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 1-10

โอกาสรับเงินปันผลเมื่อครบกำหนดสัญญา** ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 10

ผู้มีเงินได้สามารถรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากเบี้ยประกันภัยตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุดถึง 100,000 บาทต่อปี (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมสรรพากร)

.* เงินปันผลรายปี: บริษัทฯ จะพิจารณาจ่ายเงินปันผลรายปีให้ผู้เอาประกันภัย ตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 1 เป็นต้นไป โดยเงินปันผลนี้จะขึ้นอยู่กับผลตอบแทนจากการลงทุนที่บริษัทจัดสรรให้ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจะแตกต่างกันตามแบบประกันภัย ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไข ข้อกำหนด และวิธีการคำนวณเงินปันผลที่บริษัทฯ พิจารณาในแต่ละปี

** เงินปันผลเมื่อครบกำหนดสัญญา: บริษัทฯ จะพิจารณาจ่ายเงินปันผลเมื่อครบกำหนดสัญญาให้ผู้เอาประกันภัย โดยเงินปันผลนี้จะขึ้นอยู่กับผลตอบแทนจากการลงทุนที่บริษัทจัดสรรให้ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจะแตกต่างกันตามแบบประกันภัย ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไข ข้อกำหนด และวิธีการคำนวณเงินปันผลที่บริษัทฯ พิจารณา ณ วันครบกำหนดสัญญา เงื่อนไขการรับประกันภัย

1.1. อายุผู้ขอเอาประกันภัย : 1 เดือน 1 วัน – 70 ปี
2.2. จำนวนเงินเอาประกันภัยขั้นต่ำ 100,000 บาท
3.3. ไม่สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมแนบได้
4.4. การตรวจสุขภาพ: ตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ของบริษัทฯ
5.5. สามารถเลือกชำระเบี้ยประกันภัย รายเดือน ราย 3 เดือน ราย 6 เดือน และรายปี
6.6. เงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามกฎเกณฑ์การรับประกันภัยของบริษัท